กำเนิดความเป็นมาของปลัดขิก (ศิวะลึงค์) ดีทางเสน่ห์ เมตตามหานิยม |
![]() |
![]() |
![]() |
กำเนิดความเป็นมาของปลัดขิก (ศิวะลึงค์) ดีทางเสน่ห์ เมตตามหานิยม เมื่อสมัยก่อนพระพุทธกาลราว 1,000 ปีเศษนั้น ชนชาติหนึ่งทางซีกโลภภาคตะวันตกนับถือและบูชาพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดวงดาว และเพลิง ชนเหล่านี้ถือว่าแสงแดดซึ่งกำเนิดมาจากพระอาทิตย์ หรือที่พระอาทิตย์ทรงโปรดให้ส่องพวยพุ่งมาสู่โลกมนุษย์นั้น มีผลทำให้ข้าวในนาแลพืชพันธุ์ธัญญาหารเจริญงอกงามอุดมสมบูรณ์ดี ทั้งย่อมรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ด้วยประการหนึ่ง ส่วนพระจันทร์นั้นก็ทอแสงลงมาให้โลกได้รับความร่มเย็นสงบก่อให้เกิดความเคลิบเคลิ้มมีความสุข แสงจันทร์นั้นจะเรียกเทพเจ้าแห่งความรักของเขาก็ได้ เพราะมีอานุภาพทำให้เกิดความรักขึ้นอย่างแน่นแฟ้นในหมู่มนุษย์ นอกจากแสงพระจันทร์จะมีคุณภาพประจักษ์ดั่งว่าแล้ว เขาสังเกตเห็นได้ว่าการที่กระแสน้ำในมนุษย์โลกมีการไหลเวียนเปลี่ยนทิศทางขึ้นลงอยู่เสมอเป็นปกติวิสัยนั้นก็ด้วยการบันดาลของพระจันทร์ ความเห็นดังนี้ก็น่าจะตรงกันกับวิชาดาราศาสตร์ของโลกปัจจุบัน คือการที่เกิดน้ำขึ้นน้ำลงได้นั้นก็เพราะพระจันทร์อยู่ใกล้โลก โลกได้รับแรงดึงดูดจากดวงจันทร์จึงทำให้เกิดกระแสน้ำไหลวนเวียน ไหลขึ้นไหลลงในโลกมนุษย์ ส่วนดวงดาวในจักรราศีที่เขาบูชานั้นก็ด้วยเหตุว่า ดวงดาวเหล่านั้นมีความสำคัญเท่ากับเป็นเจ้าของแร่ธาตุต่าง ๆ ในโลก เช่น ดวงอาทิตย์เป็นธาตุไฟเป็นเจ้าของแร่ทองคำในโลก ดวงจันทร์เป็นธาตุดินเป็นเจ้าของธาตุเงินในโลก ดาวอังคารเป็นธาตุลมเป็นเจ้าของธาตุหรือแร่เหล็กในโลก ดาวพุธเป็นธาตุน้ำเป็นเจ้าของแร่ปรอทในโลก ดาวพฤหัสเป็นธาตุดินเป็นเจ้าของธาตุสังกะสีในโลก ดาวศุกร์เป็นธาตุน้ำเป็นเจ้าของธาตุทองแดงในโลก ดาวเสาร์เป็นธาตุไฟ เป็นเจ้าของโลหะหรือแร่ตะกั่วภายในโลกดังนี้ นอกจากการบูชาและพิธีพลีกรรมต่าง ๆ อันเป็นไปเพื่อสักการะแด่พระอาทิตย์ พระจันทร์ และดวงดาวในจักรราศีแล้ว ยังได้บูชาเพลิงอีกสถานหนึ่ง ด้วยพระเพลิงนั้นสามารถทำลายล้างสิ่งต่าง ๆ ให้พินาศย่อยยับเป็นจุลไปได้ในชั่วพริบตา เขาจึงจำต้องบวงสรวงและอ้อนวอนบูชาขอความเมตตาหยุดยั้งการล้างผลาญ จากพระเพลิงผู้เป็นเจ้าของแห่งอันตรายอันใหญ่หลวงแก่เขาด้วย เมื่อพระอินทร์เป็นผู้ประศาสตร์ก่อกำเนิดสิ่งต่าง ๆ ขึ้นแล้ว ก็มีเทพเจ้าอีกองค์หนึ่งเป็นผู้ทำลายชีวิตมนุษย์และสัตว์โลกอันจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นก็คือ “พระยม” หรือ “มฤตยู” เทพเจ้าแห่งความตาย ท่านทั้งสี่นี้เป็นเทพเจ้าผู้เป็นเจ้าของโลกเป็นผู้พิทักษ์รักษาโลกผู้ศักดิ์สิทธิ์แห่งทิศทั้งสี่ที่เรียกกันว่า “ท้าวโลกบาล” ทั้งนี้ศาสนาเดิมของอริยะก็มีกำเนิดมาจากการบูชาพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดวงดาว และบูชาไฟของชนชาวตะวันตกเหล่าหนึ่งในสมัยก่อนพุทธกาล 1,000 ปีเศษที่กล่าวแล้วนั่นเอง ฉะนั้นพระองค์จึงโปรดให้ช่างจำหลักรูปพระอาทิตย์และพระจันทร์ขึ้นไว้ แล้วประดิษฐานไว้บนปลายเสาหินตั้งเอาไว้ใจกลางพระมหาวิหารโสมนาถนั้น แล้วพระองค์ทรงเสด็จไปนมัสการพระอาทิตยืและพระจันทร์เป็นกิจวัตร ชนทั้งหลายก็เรียกกันว่าเสาพระจันทร์ของศิวะ อันเสาหินที่ประดิษฐานรูปจันทร์และอาทิตย์นี้มีลักษณะเป็นรูปหินกลมอยู่ส่วนบนสุด ถัดมาเป็นรูปวงจันทร์ข้างแรมมีส่วนโค้งขนานไปตามความโค้งของวงดวงอาทิตย์นั้น ทั้งหมดตั้งอยู่บนยอดเสาหินกลมกลางพระมหาวิหาร เมื่อมองดูผาด ๆ คล้ายรูปลึงค์ตั้งเลยเรียกกันว่าศิวะลึงค์ ครั้นกาลเวลานานมาเมื่อศาสนาแห่งพระอิศวรและพระอุมาเกิด สาสนิกชนผู้เลื่อมใสจึงจำหลักหินเป็นรูปโยนีรับแท่นศิวะลึงค์นั้นหมายเอาเป็นรูปเคารพแทนองค์พระอิศวรและพระอุมา เรียกผู้นับถือรูปเคารพศิวะลึงค์และโยนีพระอุมานี้ว่า ผู้นับถือลึงค์ศาสนามีพราหมณ์ตระกูลโพช หรือพรามหมณ์ พฤฒิบาศ เป็นต้น |
พระเครื่อง:ร้านอิทธิปาฏิหาริย์
พระใหม่ยอดนิยม พระบูชา-เทวรูปต่างๆ พระเกจิอาจารย์ พระเก่าทั่วไป พระปิดตา ทุกสำนัก เครื่องรางของขลัง หนังสือพระ หนังสือพระเครื่อง หนังสือธรรมะรายการสินค้าทั้งหมด |
|
ค้นหาแบบละเอียด |