เหรียญเงินไทย (เงินพดด้วง) แคล้วคลาด เมตตามหานิยม |
|
|
|
เหรียญเงินไทย (เงินพดด้วง) แคล้วคลาด เมตตามหานิยม
เหรียญเงินไทยนั้นมีใช้มาแต่โบราณสมัย แต่ได้มีมาในรูปแบบอื่น เช่น รูปกลมที่เรียกว่า เงินพดด้วง (เพราะมีลักษณะกลมเหมือนขดตัวด้วง) รูปเป็นเส้นเงินงอโค้งที่เรียกว่าเงินขาคีม เหรียญเงินรูปต่าง ๆ ของไทยเรานี้เพิ่งเปลี่ยนรูปมีลักษณะกลมแบนเป็นเหรียญในรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง
ด้วยความเป็นกษัตริยาธิราชทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม ทำให้เหรียญกระสาปน์กลายเป็นเครื่องรางของขลังอันศักดิ์สืทธิ์ สัปบรุษนำไปติดตัวเพื่อเป็นเครื่องสักการะเพราะมีพระบรมรูปของกษัตริย์แผ่นดินนั้น ๆ ปรากฏอยู่ด้วย
เงินพดด้วงในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรากฏว่ามีเครื่องหมายจำหลักอยู่บนก้อนเงินนั้นเป็นตราหลายอย่าง อาทิที่เรียกกันว่าตราบัวยันต์บ้างตรามงกุฎบ้าง ตราราชวัฎบ้าง รูปจำหลักเหล่านี้ถือกันว่าเป็นของสูงอันเนื่องในพระเจ้าแผ่นดินอาจสามารถยังความสวัสดิมงคลมาสู่ได้ ผู้นับถือจึงนำเหรียญเงินนั้นติดตัวเป็นเครื่องราง และก็มีพระคณาจารย์หลายท่านที่ได้นำเงินโบราณเหล่านี้ไปคุลีการกับวัสดุอาถรรพณ์อื่น ๆ แล้วนะไปหล่อหลอมเป็นพุทธปฎิมา อาทิ สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์เทพวราราม ทรงใช้เงินตราบัวยันต์รัชกาลที่ 4 หล่อองค์พระกริ่งซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่นักพระเครื่องเป็นอันมาก นอกจากนั้นแล้วเงินโบราณเหล่านี้ยังเป็นที่เสาะแสวงหาของชาวต่างประเทศเพื่อนำไปสะสมเป็นวัตถุโบราณอีกด้วยทางหนึ่ง
กล่าวกันว่าการหล่อหลอมเงินกระสาปน์ของไทย แต่ก่อนนั้น ท่านมีพระคณาจารย์ทำพิธีในขณะหล่อหลอมนั้นด้วย ทั้งนี้เพราะโบราณท่านถือว่าเงินเป็นของมีค่า เป็นของสูงที่มีคุณประโยชน์แก่ผู้ใช้ ดังนั้นในปัจจุบันนี้เราจึงเห็นมีผู้ห้อยเหรียญเงินสมัยรัชกาลที่ 5 แบบทำนองห้อยพระเครื่องอยู่กับตัว ทั้งยังได้ปรากฏเหตุการณ์ความศักดิ์สิทธิ์แก่ผู้นั้นอีกนับเป็นอเนกประการ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีในหมู่ผู้เคารพนับถือนั้นแล้ว
|